วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย


บุคลากรในหน่วยงาน






บุคลากรที่เกี่ยวข้องในระบบ




- แพทย์
- พยาบาลวิชาชีพ

- เวชกรฉุกเฉิน

- ชุดปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

- ประชาชนทั่วไป





หน้าที่ของบุคลากร

แพทย์ ทำหน้าที่ควบคุมระบบ

- เพื่อให้การรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นมีสถานะเหมือนแพทย์ได้เป็นผู้ให้เอง
- บทบาทในการฝึกอบรม
- การจัดมาตรฐานระบบ
- การประเมินผล

พยาบาล
- เป็นผู้ให้บริการในระดับสูง
- เป็นผู้ช่วยในระบบควบคุมทางการแพทย์
- เป็นผู้สอน
- พัฒนาหลักสูตรเจ้าหน้าที่ในระดับต่างๆ รวมทั้งประชาชน
- เป็นผู้บริหารหน่วยปฏิบัติการที่เหมาะสม
- พยาบาลที่จะทำหน้าที่นี้ต้องได้รับการอบรมเพิ่มเติม

เวชกรฉุกเฉิน ในประเทศไทยขณะนี้มีเวชกรฉุกเฉินอยู่ 2 ระดับ

- เวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน ( EMT -basic )
- เวชกรฉุกเฉินระดับกลาง ( EMT -intermediate )
อนาคตจะมีการผลิตเวชกรฉุกเฉินระดับสูง ( Paramedic )


ชุดปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น


- เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง
- เป็นเจ้าหน้าที่ชุดแรกที่ไปถึงที่เกิดเหตุ
- ควรมีความรู้พื้นฐานหลักสูตรการอบรม 20 ชม. เป็นขั้นต่ำ
- สามารถให้การประเมินสภาพผู้ป่วยได้ว่าผู้ป่วยต้องการการรักษาพยาบาลในระดับใด

ประชาชนทั่วไป

- บอกได้ว่าผู้เจ็บป่วยที่พบเห็นเป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือไม่
- รู้จักวิธีป้องกันตนไม่ให้ได้รับอันตรายจากการเข้าช่วยเหลือผู้อื่น
- รู้จักการแจ้งเหตุและการให้ข้อมูลที่เพียงพอ
- รู้จักการช่วยเหลือขั้นต้นตามพื้นฐานของตนเพื่อให้การดูแลผู้เจ็บป่วยไปพลางก่อน
- หลักสูตรในการอบรมประชาชนทั่วไปนี้ไม่ควรต่ำกว่า 1 วัน

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

การประเมินสภาพผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ



การประเมินสภาพผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ
•สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน ทำให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน
- อุบัติเหตุจราจร
- ตกจากที่สูง
- การทำงาน
- จมน้ำ
- สารพิษ
- ของมีคม

การประเมิน
1.ประเมินสถานการณ์
2.ประเมินสภาพผู้ป่วย

การประเมินสถานการณ์
-สภาพแวดล้อมต้องดูความปลอดภัยก่อนเข้าช่วยเหลือ
- ตึกถล่ม
- ไฟไหม้
- สารพิษ
- จราจร
- จมน้ำ

การประเมินสภาพผู้ป่วย
1.การรู้สึกตัว
2.สภาพทั่วไป
3.บริเวณอวัยวะที่บาดเจ็บ

การช่วยเหลือ -ผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี
•สภาพทั่วไป - ประเมินชีพจร ปกติ โทรแจ้ง 1669
- ประเมิน หายใจ ช้าหรือเร็ว เหงื่อออก ตัวเย็น
ให้การช่วยเหลือบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
แขน,ขาหัก - ดาม
มีบาดแผล - ห้ามเลือด
ให้ความอบอุ่นร่างกาย - ห่มผ้า
งดน้ำ , อาหาร
เคลื่อนย้าย โดยใช้เปล (spinal Board)
การช่วยเหลือ – ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น
•สภาพทั่วไป - ประเมินชีพจร ไม่มีชีพจร โทรแจ้ง 1669
- ประเมินหายใจ ไม่หายใจ
- ริมฝีปากเขียว , เล็บมือ เล็บเท้าเขียว ให้ช่วยเหลืออย่างเร็วที่สุด ภายใน 4 นาที
- จัดท่า เปิดทางเดินหายใจ
- นวดหัวใจ CPR ถ้าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้อง ห้ามหยุด CPR จนกว่าจะถึงมือแพทย์

EMS การช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ












ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน


โรงพยาบาลสกลนคร

EMS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการตาย ความพิการ การทุกข์ทรมานและการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย อันเกิดจากความล่าช้าในการได้รับการดูแลรักษา การลำเลียงเคลื่อนย้ายไม่ถูกวิธี และนำส่งยัง สถานพยาลบาลที่ไม่เหมาะสม โรงพยาบาลสกลนคร ดำเนินการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในเดือนตุลาคม 2545
โดย…..
- จัดให้มีศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร
- จัดตั้งหน่วยบริการ EMS ระดับ ALS ของโรงพยาบาล
- จัดอบรม อาสาสมัครกู้ชีพ เครือข่าย EMS
EMS โรงพยาบาลสกลนคร ได้มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ , เอกชน , ส่วนกลาง , ท้องถิ่น ตลอดจน ชุมชนและประชาชน ให้รู้ เข้าใจ มีส่วนร่วม ในระบบบริการอย่างทั่วถึง โดย
1. ตั้งคณะกรรมการระดับอำเภอและโรงพยาบาล
2. จัดส่งพยาบาลวิชาชีพ อบรมหลักสูตรการช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ
3. อบรมอาสาสมัครกู้ชีพ , มูลนิธิ เรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ
4. ปรับปรุงเพิ่มมาตรฐานรถพยาบาลสำหรับออกเหตุ ระดับ ALS
5. ขยายเครือข่าย สู่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. นิเทศ ติดตาม พื้นฟูความรู้ทักษะ หน่วยบริการเครือข่าย ปีละ 2 ครั้ง เพื่อเตรียม ความพร้อมก่อน
เทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์
7. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ สู่ชุมชน



สายด่วน... 1669 โทรฟรีตลอด 24 ชม.